มาทำความเข้าใจ OEM, ODM และ OBM 

Rochester Business Ethics  > Business >  มาทำความเข้าใจ OEM, ODM และ OBM 
0 Comments
ทำความเข้าใจธุรกิจ OEM

สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนสายอาชีพไม่อยากทำงานประจำแล้ว และกำลังมองหาเส้นทางการทำธุรกิจส่วนตัว หรืออยากเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก เหรือไม่ก็ขนาดปานกลาง คุณต้องเข้าใจก่อนว่า OEM, ODM และ OBM คืออะไร เพื่อที่คุณจะได้เลือกทำธุรกิจตามที่คุณต้องการ และตามความถนัดของคุณเอง 

มาทำความเข้าใจธุรกิจ OEM คืออะไร? 

อย่างแรกเรามาทำความรู้จัก OEM กันก่อน โดย OEM หรือ Original Equipment Manufacturing คือ การผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่างๆ ตามที่ผู้ซื้อเป็นผู้กำหนด แล้วจะทำการติดแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ ซึ่งกระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน การใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผน 

ข้อดี 

  • ลดต้นทุนการผลิตให้กับเจ้าของแบรนด์
  • เจ้าของแบรนด์ขนาเล็กไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการดูแลขั้นตอนการผลิต
  • ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลและให้คำปรึกษา
  • สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่ต้นทุนต่ำกว่าการผลิต

ข้อเสีย

  • ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตเอง
  • คุณภาพสินค้าเหมือนแบรนด์ทั่วไปในตลาด

ODM คืออะไร? 

ODM หรือ Original Design Manufacturing คือ การผลิตภายใต้แบรนด์ของผู้ซื้อ ซึ่งผู้ผลิตมีหน้าที่ผลิตภัณฑ์ ออกแบบ วางองค์ประกอบ ออกแบบภายใต้แบรนด์ของผู้ซื้อ แต่ ODM จะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต และนำเสนอต่อผู้ซื้อได้ เป็นการทำงานร่วมกัน สามารถปรึกษาหารือออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ซื้อสามารถวางจำหน่ายและกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาด 

ข้อดี

  • ผู้ซื้อไม่จำเป็นต้องคิดค้น พัฒนา ออกแบบด้วยตนเอง
  • ผลิตภัณฑ์มีความต่าง
  • ผู้ซื้อลดต้นทุนการผลิตได้
  • สามารถย้ายฐานการผลิตไปยังฐานผลิตที่ต้นทุนต่ำกว่า
  • ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการผลิต
  • มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา

ข้อเสีย

  • ต้นทุนการผลิตสูง

OBM คืออะไร?

OBM หรือ Original Brand Manufacturing คือการผลิตภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต ซึ่งเหมาะกับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และอย่างเติบโตอย่างเต็มที่ ต้องการสร้างชื่อเสียงในวงกว้าง มีการทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง สามารถทำการผลิตและจัดจำหน่ายได้ในปริมาณที่แบรนด์เป็นผู้กำหนด โดยมีทั้งหน่วยงานคิดค้น วิจัย พัฒนา วางแผนการผลิต การวางจำหน่าย ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้อย่างมาก

ข้อดี 

  • มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง ทำให้ปรับเปลี่ยนได้มากเท่าที่ต้องการ
  • ลดต้นทุนการผลิตได้มาก
  • สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ในจำนวนมาก

ข้อเสีย

  • สามารถผลิต และออกแบบสินค้าทุกอย่างด้วยตัวเอง แต่ไม่มีผู้ให้คำปรึกษาในการผลิต
  • ต้นทุนการสร้างโรงงานการผลิตสูง